วัยทอง เสี่ยงต่อการเป็น โรคกระดูกพรุน ได้มาก จริงหรือ?

วัยทอง เสี่ยงต่อการเป็น โรคกระดูกพรุน ได้มาก จริงหรือ?

ตอบ : จริง

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเริ่มหมดไป ทำให้กระดูกสลายตัวมากขึ้น สตรีวัยทองจำนวนมากจึงประสบกับปัญหาภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน ซึ่งราว 1 ใน 5 ของสตรีไทยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และราวครึ่งหนึ่งของสตรีไทยที่อายุมากกว่า 70 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะที่กระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการ แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักและภาวะแทรกซ้อนตามมา

คำแนะนำ

จัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม
การออกกำลังกาย
ㆍ ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักจะช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อกระดูก
ㆍ ออกกำลังกายที่ช่วยการทรงตัวจะช่วยลดการพลัดตกหกล้ม
การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอจะช่วยชะลอการเกิดกระดูกพรุน
การใช้ยาลดการสลายกระดูกควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์

ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2565
ที่มา : อ. นพ.อัมธินทร์ สุวรรณ
ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา