ภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรีย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรีย

มาลาเรีย คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวมียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้สูงและหนาวสั่น โดยมักพบโรคนี้ในประเทศเขตร้อนขึ้นและพื้นที่ที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

  1. ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อมาลาเรียทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลง
  2. มาลาเรียขึ้นสมอง การติดเชื้อมาลาเรียสามารถส่งผลกระทบต่อสมอง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง ชัก หรือมีอาการถึงขั้นวิกฤติ
  3. ปอดบวมน้ำ เกิดการสะสมของเหลวในปอด ทำให้มีปัญหาในการหายใจ
  4. อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม
  5. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  6. ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  7. อาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยตั้งครรภ์

  • การคลอดก่อนกำหนด
  • แท้งบุตร
  • ในกรณีรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยตั้งครรภ์เสียชีวิต
  • ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือระหว่างการคลอด
  • ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

เผยแพร่เนื่องในวันมาลาเรียโลก (วันที่ 25 เมษายน 2564)
ที่มา : ศ. ดร. นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร