ข้อจำกัดที่ควรระมัดระวังของอาหารคีโต

ข้อจำกัดที่ควรระมัดระวังของอาหารคีโต

ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรก อาจพบผลข้างเคียงจาก การขาดกลูโคสที่ใช้เป็นพลังงานตามปกติ เช่น ร่างกายอาจอ่อนล้า รู้สึกวิงเวียน ปวดหัว หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง ความดันโลหิตลดลง

  • มวลกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งเป็นผลจากปริมาณอินซูลินที่ลดลง
  • บางรายอาจพบมวลกระดูกลดลงจากการได้รับแคลเซียมและวิตามินดีลดลง ด้วยข้อจำกัดของอาหารที่กิน
  • บางรายอาจพบอาการท้องผูกจากการได้รับกากใยอาหารจากผัก ผลไม้ไม่เพียงพอ
  • อาจพบอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือที่เรียกว่า “หวัดคีโต” ได้
  • มีความเสียงต่อการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง วิตามินชี และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไตได้ จากความไม่สมดุลของสารอาหารในร่างกาย
  • ผู้มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ที่จำเป็นต้องได้รับไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวชนิดต่าง ๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล

อาหารคีโตอาจเป็นประโยชน์กับบางคน โดยเพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและเบาหวานชนิดที่ 2

งานวิจัยเกี่ยวกับอาหารคีโตส่วนใหญ่เป็นระยะสั้น ยังขาดการศึกษาติดตามในระยะยาวถึงผลกระทบทาง สุขภาพในด้านอื่น ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือทีมผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการ ในการให้คำปรึกษาและตรวจ ติดตามในระยะยาว เพื่อป้องกันอันตรายหรือผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562

ที่มา : รศ.พญ.ธนินี สหกิจรุ่งเรื่อง