การรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในบุคคลข้ามเพศ

การรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในบุคคลข้ามเพศ

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่พบข้อมูลความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ฮอร์โมนในบุคคลข้ามเพศกับความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่อาจสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีข้อแนะนำการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ดังนี้

  • บุคคลข้ามเพศที่มีสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ฮอร์โมนข้ามเพศอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  • ไม่มีข้อแนะนำให้หยุดใช้ฮอร์โมนข้ามเพศก่อนการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่เชื่อมโยงปฏิกิริยาของวัคซีนกับฮอร์โมนข้ามเพศ
  • สุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงควรลดบุคคลข้ามเพศควรรักษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น งดสูบบุหรี่และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • บุคคลข้ามเพศที่มีความเสี่ยงจำเพาะบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โรคเกล็ดเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับวัคซีน
  • ในกรณีที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือได้รับยาสำหรับการป้องกันก่อนหรือหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (ART,PrEP หรือ PEP)ยังไม่พบข้อมูลปฏิกิริยาระหว่างยากับวัคซีน จึงแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้
  • ควรเลือกใช้ฮอร์โมนชนิดที่ส่งผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยที่สุด โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ

คำแนะนำจากแพทย์

หากบุคคลข้ามเพศที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีอาการข้างเคียง เช่น หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก ขาบวม หรือมีอาการปวดท้องรุนแรงที่ไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบพบแพทย์ทันที

ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2564
ที่มา : รศ. นพ.กระเษียร ปัญญาคำเลิศ