การดูแลเด็กที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอด

การดูแลเด็กที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอด

เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นกลุ่มที่มีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้ง่ายหากอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอด และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นวัณโรคชนิดแพร่กระจาย รวมถึงวัณโรคของระบบประสาท ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง
1. การสอบถามประวัติจากเด็กและผู้ปกครอง
2. การตรวจร่างกาย
3. เอกซเรย์ปอด
4. การทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อเชื้อวัณโรค (Tuberculin skine test)
5. การตรวจวิเคราะห์การหลั่งอินเตอร์เฟียรอนแกมมาในเลือด (Interferron gamma release assay)
การดูแลเด็กที่สัมผัสวัณโรค
1. เด็กที่ตรวจไม่พบการป่วยเป็นวัณโรค มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ซึ่งสามารถให้ยาป้องกันไม่ให้เด็กป่วยแบบมีอาการได้ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งยามีประสิทธิภาพ 70-80% และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า 1%
2.เด็กทุกคนควรได้รับการติดตามอาการอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อประเมินการเป็นวัณโรค
คำแนะนำจากแพทย์
หากมีผู้ใหญ่ภายในบ้านป่วยเป็นวัณโรค จะต้องนำเด็กภายในบ้านมาตรวจหาวัณโรคร่วมด้วย

เผยแพร่ ณ วันวัณโรคโลก (วันที่ 24 มีนาคม 2564)
ที่มา : อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล