วิธีช่วยเหลือเมื่อลูกมีพัฒนาการต้านภาษาล่าช้า
- ปิดและลดการใช้สื่อหน้าจอต่าง ๆ แม้ว่าจะเปิดทิ้งไว้โดยที่เด็กไม่ได้ดูก็ตาม
- ให้เวลาในการพูดคุย เล่น และทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูกมากขึ้น เช่น อ่านหนังสือนิทาน ร้องเพลงและทำท่ประกอบ สอนคำศัพท์ และพากย์สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
- ฝึกพูด ด้วยการนำสิ่งที่เด็กต้องการมาใกล้ปากของผู้เลี้ยงดู และพูดบอกคำศัพท์นั้น ๆ กับเด็กช้า ๆ อย่างชัดเจน และกระตุ้นให้เด็กมองหน้า สบตา และม่องปากของผู้เลี้ยงดูระหว่างกำลังพูด
- หากเด็กพูดได้บ้าง ควรเพิ่มคำศัพท์ให้ยาวขึ้นทีละน้อย เช่น เมื่อพูดคำว่า “บอล” ได้ ก็พูดกับเด็กให้ยาวขึ้นเป็น “เตะบอล” “โยนบอล” เป็นต้น
- กระตุ้นให้เด็กพูดบอกความต้องการง่าย ๆ เช่น ให้ออกเสียงบอกก่อน จึงทำให้ตามที่ร้องขอโดยไม่ทำให้เด็กหงุดหงิด
- ควรพาเด็กมาประเมินกับกุมารแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2565
ที่มา : ศ. นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ
สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์