การติดเชื้อรา แเคนดิดา (Candidiasis) ที่ผิวหนัง

การติดเชื้อรา แเคนดิดา (Candidiasis) ที่ผิวหนัง

อาการ

  • มีผื่นแดงนูน คัน ผิวหนังเปื่อย และมีขอบเขตชัดเจน
  • อาจพบตุ่มแดงหรือตุ่มหนองกระจายอยู่รอบ ๆ รอยโรค
  • มีอาการระคายเคือง คัน หรือแสบบริเวณรอยโรคได้

สาเหตุุ

  • เกิดจากการเจริญของชื้อรแดนดิดา เข้าไปในผัวหนังและขุมขน มักพบในบริเวณ
  • ผิวหนังที่เกิดความอับชื้นได้ง่าย เช่น ซอกขา ข้อพับ รักแร้ ซอกขาหนีบ หรือใต้ราวนม
  • ในเด็กทารกอาจพบได้บริวณซอกขา จากการสวมใส่ผ้ออมสำเร็จรูปที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน
  • ปัจจัยอื่น ๆ อาทิ การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน การรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ ภาวะกูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น

การวินิจฉัย
สังเกตอาการร่วมกับการขูดผิวหนังบริเวณที่มีพยาธิสภาพไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
การรักษา
ใช้ยาทาหรือรับประทานยาต้านเชื้อรา ลดภาวะที่ส่งเสริมการเกิดโรค เช่น ลดความอับชื้นและรักษาความสะอาดบริเวณซอกพับไม่ให้เปียกชื้น ลดน้ำหนัก เป็นต้น

ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563
ที่มา : ผศ. พญ.มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์