อ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ แพทย์หญิงแห่งจุฬาฯ กับ นวัตกรรมทางสมองชิ้นแรกของโลก

อ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ประจำศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ร่วมกับ ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา และนายสุวิชา จิรายุเจริญศักดิ์ วิศกรจากเนคเทค และ ดร.เศรษฐา ปานงาม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำคลื่นสมองมาพัฒนาต่อยอดมาปรับเป็นเกมคลื่นสมอง หรือ Game Base Neuro Feedback Cognitive Training เพื่อใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคทางการแพทย์ โดยเฉพาะช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ทำสำเร็จเป็นทีมแรกของโลก ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับโลก จากนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

นอกจากนี้ ยังมีผลงานรางวัลเหรียญทองเกียรติยศจากนิทรรศการเดียวกัน ได้แก่ ระบบคัดกรองโรคอัลไซเมอร์จากเสียงพูดอัตโนมัติ โดยใช้การวิเคราะห์คุณลักษณะต่างๆจากเสียงพูดของผู้ป่วย ผ่านโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) ซึ่งสามารถจำแนกผู้มีภาวะความจำบกพร่องได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่เริ่มผิดปกติ ผลงานนี้เรียกได้ว่าเป็นผลงานต้นแบบชิ้นแรกของโลก ทำให้คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสหพันธรัฐรัสเซียประทับใจ และเล็งเห็นแนวทางพัฒนาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุใน ทศวรรษหน้าได้อย่างดีเยี่ยม จึงมอบรางวัลพิเศษ “R.Alekseev Award” ให้กับนวัตกรรมดีเด่นนี้ โดยผลงานดังกล่าวมีการพัฒนาร่วมกับ รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต / อ.ดร.จุฑามณี อ่อนสุวรรณ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.กฤษณ์ โกสวัสดิ์ จากเนคเทค เป็นความร่วมมือ-ร่วมใจ ทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ อันทรงคุณค่า ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางสมองที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในเวทีระดับโลกอย่างงดงาม

Game Base Neuro Feedback Cognitive Training ใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคทางการแพทย์ โดยเฉพาะช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งทีมเราทำสำเร็จเป็นทีมแรกของโลก ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับโลก จากนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์