กลุ่มงานเภสัชกรรม

Pharmacy Section

ให้การดูแลเรื่องการใช้ยาต่าง ๆ
ด้วยมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม

กลุ่มงานเภสัชกรรม หรือแต่เดิมเรียกว่า “คลังยา” คือหนึ่งในแผนกที่อยู่เคียงคู่กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2457 ในสมัยนั้นห้องยาตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการ และคลังยาอยู่ที่ห้องใต้ดิน หัวหน้าแผนกคนแรก คือ ร.อ.หลวงเภสัชรักษา (ปอย รักษาสุข) โดยในปี พ.ศ. 2468 ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่รวบรวมพิมพ์เภสัชตำรับยาฉบับแรกที่มีชื่อว่า “ฟาร์มาโกเปียของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” ขึ้นใช้ในโรงพยาบาล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 แผนกคลังยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น“แผนกคลังเวชภัณฑ์” และในปี พ.ศ. 2491 ได้แบ่งงานออกเป็น 3 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยผสมยา หน่วยคลังยา และห้องยาทุนหมุนเวียน ซึ่งทำงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียน โดยมี นายแพทย์หลวงพรหมทัตตเวที เป็นประธานเงินทุนหมุนเวียนคนแรก เริ่มเปิดขายยาครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2491 มีรายการยาจำนวน 110 รายการ

ในปี พ.ศ. 2504 มีการเปิดอาคารเวชภัณฑ์เพื่อใช้เป็นสถานที่จำหน่ายยาของห้องคลังเวชภัณฑ์ และมีห้องยาทุนหมุนเวียนที่จำหน่ายยาทั่วไปอื่น ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีประกาศสภากาชาดไทยจัดตั้ง “แผนกยา” แยกออกจากแผนกเวชภัณฑ์ ดูแลจัดการเรื่องยาทุนหมุนเวียนโดยเฉพาะ

นับแต่นั้นเป็นต้นมา แผนกยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านเหตุการณ์สำคัญ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอันทันสมัยมากมาย ภายใต้การนำของหัวหน้าฝ่ายในแต่ละยุคสมัย จนกระทั่งกลายมาเป็น “กลุ่มงานเภสัชกรรม” ในวันนี้

เจตจำนง

บริบาลด้วยมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ ยึดมั่นความปลอดภัย ห่วงใยการใช้ยา

ภาระหน้าที่

ให้บริการทางเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นที่พีงพอใจของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับยาที่มีคุณภาพสูง พร้อมใช้ และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม


กลุ่มงานเภสัชกรรม ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ดังนี้

1. งานบริการเภสัชภัณฑ์

  • หน่วยคลังยา
  • หน่วยจัดซื้อ

2. งานเภสัชกรรมการผลิต

  • หน่วยผลิตยาทั่วไป
  • หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN
  • หน่วยผสมยาเคมีบำบัด อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช
  • หน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเฉพาะราย* (IV admixture)

*ยังไม่เปิดบริการ อยู่ระหว่างดำเนินการ

3. งานบริการเภสัชกรรมคลินิก

  • หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
  • หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
  • ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

4. งานเภสัชสนเทศและพัฒนาคุณภาพ

  • หน่วยเภสัชสนเทศ (Drug Information Service : DIS)
  • หน่วยพัฒนาคุณภาพ (Quality Development Unit : QDU) 

5. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก

  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 1 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 2 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 3 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 5
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 7
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 9 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 11
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 13
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารจุมภฎพงษ์บริพัตร ชั้น 1
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก (Hemato) อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โซน C
  • หน่วยจ่ายยาฉุกเฉิน อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M โซน A
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ส.ธ. ชั้น 3
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคารจงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 3

6. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยใน

  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น B1
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคาร สก. ชั้น 13
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคารคลินิกพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 1

7. งานธุรการและบัญชี

  • หัวหน้างานธุรการและบัญชี และงานธุรการและบัญชี อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน B

การให้บริการของฝ่าย

กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้เปิดให้บริการทางเภสัชกรรมด้านต่าง ๆ โดยแบ่งงานบริการออกตามหน่วยงานย่อยภายในกลุ่มงานทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่

1. งานบริการเภสัชภัณฑ์ 

งานบริการเภสัชภัณฑ์ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดซื้อยา เก็บสำรองยา และจ่ายยาให้หน่วยจ่ายยา ภายใต้แนวคิดการบริหารงานที่เน้นความปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเพียงพอสำหรับความต้องการ

1.1 งานจัดซื้อ
มีการจัดซื้อยาตามรายการเภสัชตำรับของโรงพยาบาลจำนวน 2,200 รายการ โดยดำเนินการภายใต้ระเบียบพัสดุฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีระบบส่งคำสั่งซื้อและติดตามรายการยาค้างส่งจากบริษัทผู้จำหน่ายที่รวดเร็ว ทันเวลา เพื่อให้มียาสำรองเพียงพอใน
โรงพยาบาล มีระบบควบคุมคุณภาพบริษัทผู้จัดส่งยาให้มีการจัดส่งยาที่ได้มาตรฐานการขนส่งที่ดี

1.2 งานคลังยา
มีการเก็บรักษายาในคลังยาที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย มีระบบการจ่ายยาให้หน่วยจ่ายยาด้วยรถขับเคลื่อนไฟฟ้า และมีพนักงานจากหน่วยขนส่งกลางจัดส่งยาให้หอผู้ป่วย มีระบบการควบคุมอุณหภูมิยาในระหว่างการขนส่งโดยเฉพาะกลุ่มยาแช่เย็น เพื่อรักษาคุณภาพของยาตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาและขนส่งก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย มีระบบรับแจ้งปัญหาคุณภาพยาจากหน่วยจ่ายยาและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อควบคุมให้มีการจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วย

2. งานเภสัชกรรมการผลิต 

งานเภสัชกรรมการผลิตมีหน้าที่หลักในการพัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยา โดยแบ่งเป็น  4 ฝ่าย ได้แก่

2.1 หน่วยผลิตยาทั่วไป

ให้บริการพัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาผลิต โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตและผสมยาที่ไม่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เป็นการผลิตยาตามความต้องการของแพทย์ หรือผลิตยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กบางราย ที่ไม่สามารถใช้ยาที่จำหน่ายตามท้องตลาดในการรักษาได้ อีกทั้งยังมีการเตรียมยาเพื่อใช้ในการทำวิจัยของแพทย์ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการผลิตยาสำหรับจำหน่ายทั่วไป รวมทั้งยาและเวชสำอางที่จำหน่ายในร้านยาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และออกร้านจำหน่ายในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เช่น พิมเสนน้ำจุฬา ยาดมจุฬา ยาหม่องจุฬา สบู่เหลวไร้ด่าง (Chula soap) ครีมยูเรีย (ทาบรรเทาอาการส้นเท้าและผิวแห้งแตก) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการผลิตกระเป๋ายาสามัญประจำบ้าน ซึ่งจะมีผลิตจำหน่ายออกมาทุกปีอีกด้วย 

2.2 หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN

ให้บริการผลิตยาที่เป็นสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ยาฉีด ยาหยอดตา ซึ่งเป็นยาที่มีกระบวนการผลิตที่ใช้ความละเอียดสูง และไม่มีจำหน่ายทั่วไป 

2.3 หน่วยผสมยาเคมีบำบัด อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช

ให้บริการเตรียมยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  

2.4 หน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเฉพาะราย

ให้บริการผสมและแบ่งบรรจุยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย

3. งานเภสัชกรรมคลินิก 

ให้บริการดูแลการใช้ยาและติดตามผลจากการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง สะดวก ปลอดภัย ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษาและมีคุณภาพชีวิดที่ดีขึ้น โดยมีหน้าที่ในการค้นหา เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา (Drug Related Problems) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งให้คำปรึกษา จัดเตรียม และส่งต่อข้อมูลด้านยาที่จำเป็นแก่ทีมสหสาขาสำหรับช่วยทีมในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและให้การรักษาผู้ป่วย ปัจจุบันปฏิบัติงานให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการรักษาด้านยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ป่วยใน 7 กิจกรรม ได้แก่

  1. งานบริบาลเภสัชกรรมในหอผู้ป่วย (Acute Care) 
  2. งานบริบาลเภสัชกรรมคลินิกเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care)
  3. งานประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction Monitoring) 
  4. งานสอนและให้คำแนะนำการใช้ยาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (In-patient Education)
  5. งานให้คำแนะนำการตรวจวัดและติดตามระดับยาแวนโคไมซินในเลือด (Therapeutic Drug (Vancomycin) Monitoring) 
  6. งานประสานและเปรียบเทียบรายการยาของผู้ป่วย (Medication Reconciliation)
  7. งานส่งเสริมควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาจุลชีพอย่างเหมาะสม (Antimicrobial Stewardship)           

4. งานเภสัชสนเทศและพัฒนาคุณภาพ 

4.1 หน่วยเภสัชสนเทศ (Drug Information Service: DIS)
เภสัชกรในหน่วยงานมีหน้าที่ให้บริการตอบคำถามและให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องการใช้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น อีกทั้งยังบริหารจัดการบัญชียาของโรงพยาบาล (Hospital Formulary) โดยทางคณะกรรมการเวชกรรม เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกยาที่มีประสิทธิภาพ  และเหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ความรู้ด้านยาที่ถูกต้อง การแนะนำยาใหม่ รวมถึงรวบรวมปัญหาที่พบบ่อยในการใช้ยา ผ่านทางวารสาร “บอกกล่าวเล่าเรื่องยา” ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลผ่านทางอีเมล เพื่อส่งเสริมการใช้ยาที่ถูกต้อง

4.2 หน่วยพัฒนาคุณภาพ (Quality Development Unit: QDU)
มีหน้าที่ผลักดันกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานเภสัชกรรม และระบบจัดการด้านยา ร่วมกับการกำกับติดตามการพัฒนางานโดยนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสพัฒนาและวางแผนพัฒนางาน สนับสนุนส่งเสริมให้มีบรรยากาศการพัฒนาคุณภาพในองค์กร การทำงานเป็นทีม มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ ส่งเสริมการสื่อสาร ประสานข้อมูลระหว่างงานหรือกิจกรรมภายในกลุ่มงานเภสัชกรรม รวมไปถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูง ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ของกลุ่มงานเภสัชกรรม และเป้าหมายหรือจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล

5. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก 

งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เป็นงานหนึ่งในกลุ่มงานเภสัชกรรม ประกอบด้วยหน่วยจ่ายยา 13 หน่วย ให้บริการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่มารับการตรวจแบบผู้ป่วยนอกจากคลินิก
ต่าง ๆ ณ อาคาร ภปร รวมถึงผู้ป่วยนอกที่ได้รับการตรวจจากศูนย์ความเป็นเลิศต่าง ๆ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคาร ส.ธ. เฉลี่ยวันละประมาณ 4,200 – 4,500 คน เปิดให้บริการจ่ายยาทั้งในและนอกเวลาราชการ

ผู้ป่วยจะได้รับการสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า Computerized Physician Order Entry (CPOE) คำสั่งใช้ยาทุกรายการจะได้รับการทบทวนจากเภสัชกร โดยมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ ประวัติการใช้ยา โรคหรืออาการที่มาพบแพทย์ ประวัติการแพ้ยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นต่อการใช้ยา เอื้อต่อการประเมินการสั่งยาเพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

ก่อนที่เภสัชกรจะส่งมอบยานั้นแก่ผู้ป่วย โดยมีการให้คำแนะนำ ข้อควรระวัง รวมถึงข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วย มีความเข้าใจในการบริหารยาอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

6. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยใน 

ให้บริการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยในตามหอผู้ป่วยต่าง ๆ ได้แก่ หอผู้ป่วยอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ หอผู้ป่วยอาคาร สก. และหอผู้ป่วยอาคารคลินิกพิเศษ 14 ชั้น โดยจะมีระบบการกระจายยาไปยังหอผู้ป่วยวิกฤตทุกวัน และสำหรับหอผู้ป่วยทั่วไปทุก ๆ 3 วัน  

7. งานธุรการและบัญชี         

ดูแลด้านงานเอกสาร และการประสานงานระหว่างหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม หัวหน้างานต่าง ๆ และหัวหน้าห้องจ่ายยาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

หน่วยงาน

สถานที่ตั้ง

เบอร์โทรศัพท์

เวลาทำการ

– หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม
– หัวหน้างานธุรการและบัญชี
– งานธุรการและบัญชี

อาคารรัตนวิทยาพัฒน์
ชั้น 5 โซน B

02 256 4000 ต่อ 60527
02 256 4000 ต่อ 60515
02 256 4000 ต่อ 60517, 60521-2
08.30 – 16.30 น.

– หัวหน้างานบริการเภสัชกรรมคลินิก
– หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care)
– หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน (Acute Care)
– ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา


อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น 11


02 256 4000 ต่อ 81127
02 256 4000 ต่อ 81129
02 256 4000 ต่อ 81130
02 256 4000 ต่อ 100, 81128

08.30 – 16.30 น.
– หัวหน้างานเภสัชสนเทศและงานพัฒนาคุณภาพ
– หน่วยเภสัชสนเทศ (DIS)
– หน่วยพัฒนาคุณภาพ (QDU)
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์
ชั้น 5 โซน B

02 256 4000 ต่อ 60544
02 256 4000 ต่อ 60599 
02 256 4000 ต่อ 60531-4 

08.30 – 16.30 น.

– หัวหน้างานเภสัชกรรมการผลิต
– หน่วยผสมยาเคมีบำบัด

อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช
ชั้น 4

02 256 4000 ต่อ 4538
02 256 4000 ต่อ 4538

08.00 – 16.00 น.

– หน่วยผลิตยาทั่วไป

– หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN

อาคารจอดรถ 3 ชั้น 8
02 256 4000 ต่อ 4527, 4528
หรือ 4205
02 256 4000 ต่อ 4529

08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานบริการเภสัชภัณฑ์
– หน่วยจัดซื้อ
– หน่วยคลังยา
– ห้องน้ำเกลือ
– ห้องตรวจรับ
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น B1

02 256 4000 ต่อ 80191
02 256 4000 ต่อ 80175
02 256 4000 ต่อ 80177
02 256 4000 ต่อ 80178, 80179
02 256 4000 ต่อ 80180

08.30 – 16.30 น.
– หัวหน้างานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก

– หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก

















– หน่วยจ่ายยาฉุกเฉิน

อาคาร ภปร  ชั้น 9

อาคาร ภปร ชั้น 1
อาคาร ภปร ชั้น 2
อาคาร ภปร ชั้น 3
อาคาร ภปร ชั้น 5
อาคาร ภปร ชั้น 7
อาคาร ภปร ชั้น 9
อาคาร ภปร ชั้น 11
อาคาร ภปร ชั้น 13

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น 1

อาคารจุมภฎพงษ์บริพัตร ชั้น 1

อาคาร ส.ธ. ชั้น 3

อาคารจงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 3

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น M โซน A
02 256 4000 ต่อ 5258

02 256 4000 ต่อ 5460
02 256 4000 ต่อ 5107
02 256 4000 ต่อ 5410
02 256 4000 ต่อ 5358, 3426
02 256 4000 ต่อ 5308
02 256 4000 ต่อ 5258
02 256 4000 ต่อ 5206
02 256 4000 ต่อ 5122

02 256 4000 ต่อ 80172


02 256 4000 ต่อ 4586

02 256 4000 ต่อ 70303-70306

02 256 4000 ต่อ 5137

02 256 4000ต่อ 83039, 83040

08.00 – 16.00 น.










08.30 – 16.30 น.








24 ชั่วโมง 


– หัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยใน


– หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน








อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น B1

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
ชั้น B1

อาคาร สก. ชั้น 13

อาคารคลินิกพิเศษ 14 ชั้น
ชั้น 1

02 256 4000 ต่อ 80187


02 256 4000 ต่อ 80185-80186


02 256 4000 ต่อ 4953, 5353

02 256 4000 ต่อ 4700

08.30 – 16.30 น.


24 ชั่วโมง


08.00 – 16.00 น.



ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

กลุ่มงานเภสัชกรรม อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5
*อยู่ระหว่างการย้ายอาคาร

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 4200