ฝ่ายอายุรศาสตร์

Department of Medicine

มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทาง
สร้างงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณค่า

ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เดิมคือ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาจึงได้โอนมาขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เจตจำนง

ฝ่ายอายุรศาสตร์ เป็นหน่วยงานในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม พร้อมทั้งมีการสร้างงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณค่าเป็นแหล่งอ้างอิงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีความเป็นเลิศทางด้านงานบริการ และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ภาระหน้าที่

  1. ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรม ใฝ่รู้ และมีเจตคติที่ดี
  2. สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ที่มีคุณค่า เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
  3. ให้บริการทางอายุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาค และสร้างความพึงพอใจต่อผู้รับบริการ
  4. ให้บริการทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับชาติและนานาชาติ
  5. สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านการเรียนการสอน การวิจัย บริการทางวิชาการ และบริการทางการแพทย์ในระดับชาติและนานาชาติ
  6. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย
  7. สืบค้นแสวงหาทรัพยากรและมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
  8. ตรวจสอบและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
  9. สร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อบุคลากรในฝ่าย

นอกจากนี้ ฝ่าย/ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ระดับแนวหน้าภายใต้ชื่อฝ่ายอายุรศาสตร์ ทั้งในรูปแบบของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์วารสาร และสื่อมัลติมีเดียที่ให้ความรู้ทางการแพทย์แก่ประชาชนทั่วไปผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ หรือช่องยูทูป (YouTube) โดยมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน


ฝ่ายอายุศาสตร์ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยทั้งหมด 21 หน่วย ดังนี้

  1. หน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด (Division of Cardiovascular Disease)
  2. หน่วยอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติโรคระบบการหายใจ (Division of Pulmonary Disease and Pulmonary Critical Care)
  3. หน่วยโลหิตวิทยา (Division of Hematology)
  4. หน่วยโรคทางเดินอาหาร (Division of Gastroenterology)
  5. หน่วยโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (Division of Endocrinology and Metabolism)
  6. หน่วยตจวิทยา (Division of Dermatology)
  7. หน่วยโรคไต (Division of Nephrology)
  8. หน่วยโรคติดเชื้อ (Division of Infectious Diseases)
  9. หน่วยประสาทวิทยา (Division of Neurology)
  10. หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม (Division of Rheumatology)
  11. หน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก (Division of Allergy and Clinical Immunology)
  12. หน่วยระบาดวิทยา (Division of Clinical Epidemiology)
  13. หน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Division of Geriatric Medicine)
  14. หน่วยโภชนาการคลินิก (Division of Clinical Nutrition)
  15. หน่วยโรคมะเร็ง (Division of Oncology)
  16. หน่วยพิษวิทยา (Division of Toxicology)
  17. หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Division Emergency Medicine)
  18. หน่วยอายุรศาสตร์โรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก (Division Perioperative and Ambulatory Medicine)
  19. หน่วยเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ (Division Medical Genetic and Genomics)
  20. หน่วยอายุรศาสตร์ทั่วไป (Division General Medicine)
  21. หน่วยอายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต (Division Critical Care Medicine)

รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
หัวหน้าฝ่ายอายุรศาสตร์

การให้บริการของฝ่าย

ฝ่ายอายุรศาสตร์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาทางการแพทย์ ความก้าวหน้าทางการวิจัย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่

1. ด้านการเรียนการสอน

ฝ่ายอายุรศาสตร์รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับความต้องการด้านวิชาการและทางวิชาชีพของประเทศ ด้วยกระบวนการสอนที่สนับสนุนให้คณาจารย์มีการเตรียมการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางในการประเมินผลในแต่ละหลักสูตรที่ชัดเจน รวมถึงการสรรหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติและคุณวุฒิเหมาะสม โดยส่งเสริมการอบรม สัมมนาในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จะทำให้การปฏิบัติงานของอาจารย์มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. ด้านการวิจัย

ฝ่ายอายุรศาตร์สนับสนุนหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและพัฒนาการวิจัย เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นแหล่งอ้างอิงของวงวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยจัดให้มีทีมบริการอาจารย์ผู้สนใจ เช่น คำแนะนำปรึกษาด้านสถิติ แนะนำแหล่งทุน การเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุน/เพื่อพิจารณาจริยธรรมการวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน ทางฝ่ายอายุรศาตร์ได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยแล้ว 3 หน่วยงาน และยังมีแผนงานสนับสนุนให้มี “โครงการจัดตั้งเป็นศูนย์แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง” อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพของหน่วยงานย่อยนั้น ๆ อีกด้วย

3. ด้านการบริการวิชาการ

ฝ่ายอายุรศาตร์ให้บริการทางการแพทย์และทางวิชาการแก่สังคม ทั้งด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น การจัดสัมมนา การจัดประชุมวิชาการ การสนับสนุนวิทยากรจากภาควิชา ฯลฯ และยังมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการแพทย์ด้านอายุรกรรมที่ถูกต้อง โดยออกวารสารชื่อ “วารสารจุฬาอายุรศาสตร์” เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าและความรู้ใหม่ ๆ ทางอายุรแพทย์ให้แก่แพทย์ที่เป็นศิษย์เก่า และโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

4. ด้านบริการและสนับสนุน

ฝ่ายอายุรศาสตร์มีหน่วยงานสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 21 หน่วยงานย่อย และ 20 หน่วยการรักษา โดยสนับสนุนการบริการจัดการ รวมถึงงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และส่งเสริมสาขาวิชาที่มีความพร้อมให้พัฒนาองค์ความรู้ในแนวลึกทางวิชาชีพให้เป็นผู้นำทางวิชาการของอายุรแพทย์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ เช่น ศูนย์โรคลมชัก ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง และศูนย์โรคพาร์กินสัน เป็นต้น


คลินิกเฉพาะโรค ฝ่ายอายุรศาสตร์

คลินิกวันเวลาสถานที่
โรคหัวใจ (Heart Clinic)อังคาร, พฤหัสบ่ายภปร 1
เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker Clinic)พฤหัสบ่ายภปร 1
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia Clinic)อังคารบ่ายภปร 1
เมตาบอลิกอายุรกรรมพฤหัสบ่ายภปร 1
โรคทางเดินอาหารและโรคตับ จันทร์บ่ายภปร 1
โรคท้องผูกและทางเดินอาหารพุธบ่ายภปร 1
พันธุศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือดอังคารบ่ายภปร 1
Peri operative careจันทร์-ศุกร์เช้าภปร 1
Warfarin Clinicอังคาร, พฤหัสบ่ายภปร 1
อายุรศาสตร์ส่งต่อจันทร์-ศุกร์เช้าภปร 1
อายุรกรรมประสาท 1 (ปวดศีรษะ)พุธเช้าภปร 3
อายุรกรรมประสาท 2จันทร์,อังคาร
พุธ,พฤหัส
บ่าย
เช้า
ภปร 3
ทางเดินอาหารและโรคตับพฤหัสบ่ายภปร 3
โรคข้อพฤหัสบ่ายภปร 3
ผู้สูงอายุอังคาร,พฤหัส,ศุกร์เช้าภปร 3
โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันพุธเช้าภปร 3
โรคภูมิแพ้ศุกร์เช้าภปร 3
โรคไตพุธบ่ายภปร 3
ไต 2 (โภชนาการ)อังคารบ่ายภปร 3
โภชนาการจันทร์เช้าภปร 3
Medical Oncologyอังคารเช้า/บ่ายภปร 3
เคมีบำบัด (Med onco)อังคารเช้าภปร 3
รังสีร่วมรักษาโรคตับพฤหัส บ่ายภปร 3
โรคหลอดเลือดสมองพฤหัส เช้าภปร 3
โรคโซเกร็นศุกร์เช้าภปร 3
Adverse drug reactionพุธ (สัปดาห์ 1,3)เช้าภปร 3
โรคปอด (ภปร 3)จันทร์เช้าภปร 3
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจันทร์บ่ายภปร 3
เปลี่ยนตับ ฝ่ายอายุรกรรมศุกร์เช้าภปร 3
ความจำจันทร์,อังคาร
พุธ
บ่าย
เช้า
ภปร 3
เนื้องอกตับ (HCC Clinic)พฤหัสบ่ายภปร 3
หัตถการจันทร์-ศุกร์ภปร 3
เบาหวาน-ธัยรอยด์และระบบฮอร์โมนจันทร์,อังคาร,พฤหัส,ศุกร์เช้าภปร 3
Cognitive test (ในเวลา)อังคาร
พุธ
บ่าย
เช้า
ภปร 3
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันปอด (ILC clinic)พฤหัสบ่ายภปร 3
เบาหวานครบวงจรพฤหัส,ศุกร์เช้าภปร 3
Immune Clinic 2พุธเช้าภปร 3
Dermato Immulogyพุธเช้าภปร 3
เปลี่ยนตับ (โภชนาการ)ศุกร์เช้า
Pre-Kidney Transplantationพุธบ่ายภปร 11
Post-Kidney Transplantationพุธบ่ายภปร 11
โรคลมชักจันทร์,อังคาร
พฤหัส
บ่าย
เช้า
ภปร 11
Syncope clinicศุกร์เช้าภปร 12
Arrhythmia clinic อังคารบ่ายภปร 12
Cath clinic อังคาร,พฤหัสบ่ายภปร 12
ECHOจันทร์,อังคาร,พุธ
พฤหัส,ศุกร์
เช้า/บ่าย
เช้า
ภปร 12
ภาวะสมองเสื่อมพฤหัสบ่ายภปร 12
ผิวหนังทั่วไปจันทร์-ศุกร์เช้าภปร 14
ผิวหนังเรื้อรังอังคารบ่ายภปร 14
ผิวหนังเหตุอาชีพและสิ่งแวดล้อมจันทร์-ศุกร์เช้าภปร 14
ปาราสิตจันทร์, อังคาร, พุธ, ศุกร์เช้าภปร 14
เลเชอร์ผิวหนัง1จันทร์ – ศุกร์เช้าภปร 14
เลเซอร์ผิวหนัง2พฤหัสบ่ายภปร 14
เลเชอร์ผิวหนัง3อังคาร
ศุกร์
บ่าย
เช้า
ภปร 14
โรคผมและหนังศีรษะจันทร์บ่ายภปร 14
หัตถการผิวหนังจันทร์ – ศุกร์เช้าภปร 14
ผิวหนังและแสงแดดจันทร์บ่ายภปร 14
รักษาด้วยแสงสีแดง (PDT clinic)พุธเช้าภปร 14
ผิวหนังสะเก็ดเงินจันทร์บ่ายภปร 14
ทดสอบแสงอาทิตย์จันทร์-ศุกร์เช้าภปร 14
โรคของต่อมไขมันอังคารบ่ายภปร 14
ข้อสะเก็ดเงินจันทร์บ่ายภปร 14
โรคทางเมตาบอลิซึมและสะเก็ดเงินจันทร์บ่ายภปร 14
ตับและสะเก็ดเงินจันทร์บ่ายภปร 14
สะเก็ดเงินและอาหารสุขภาพจันทร์ (wk 1,3)บ่ายภปร 14
เนื้องอกผิวหนัง 2จันทร์ – ศุกร์เช้าภปร 14
รักษาฝ้าและโรคของเม็ดสีพฤหัส (สัปดาห์ 2,4)บ่ายภปร 14
โรคปอด อังคารบ่ายภปร 14
โรคติดเชื้อ “ประญัติ ลักษณะพุกก์”พุธบ่ายภปร 14
ฉายแสงจันทร์ – ศุกร์เช้า-บ่ายภปร 14
ประเมินใช้ยาพ่นสูดและวัดค่าแรงสูดอังคารบ่ายภปร 14
แสงอาทิตย์และใจสบายพฤหัสบ่ายภปร 14
ผิวหนังทางไกลจันทร์บ่ายภปร 14
พีโพรม ผิวหนังแสงอาทิตย์และพันธุศาสตร์พฤหัสบ่ายภปร 14
โลหิตวิทยาจันทร์,อังคาร,พุธ,พฤหัสเช้าภูมิสิริฯ 1 C
BMTจันทร์,พุธ,พฤหัสเช้าภูมิสิริฯ 1 C
Transplant IDจันทร์เช้าภูมิสิริฯ 1 C
Hemophilia clinicอังคาร (wk 4)เช้าภูมิสิริฯ 1 C
ฮอร์โมนและเบาหวานจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 4
ฮอร์โมนจันทร์-ศุกร์เช้าภูมิสิริฯ 4
เบาหวานและต่อมไร้ท่อทางไกลจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 4
Advanced diabetes clinicพุธบ่ายภูมิสิริฯ 4
บริการผู้ป่วยที่มีก้อนไทรรอยด์ศุกร์บ่ายภูมิสิริฯ 4
เคมีบำบัด อาทรจันทร์-ศุกร์
พฤหัส
เช้า
เช้า/บ่าย
อาทรล่าง
เนื้องอกผิวหนัง 1จันทร์-ศุกร์เช้าภูมิสิริฯ 5 C
วิจัยผิวหนังจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 5 C
ประสาทวิทยาจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
ความจำจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
การตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)จันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
ALS (Multidisciplinary)จันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
Myasthenia gravisจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
เส้นประสาทและกล้ามเนื้อจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
Cognitive Testจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 7
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังจันทร์-ศุกร์เช้าภูมิสิริฯ 10 A
คลินิกโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังจันทร์-ศุกร์เช้าภูมิสิริฯ 10 A
คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้พุธบ่ายภูมิสิริฯ 10 A
คลินิกทางเดินอาหารและตับจันทร์-ศุกร์เช้า/บ่ายภูมิสิริฯ 10 A
คลินิกคัดกรองมะเร็งตับพุธเช้าภูมิสิริฯ 10 A
คลินิกโรคท่อน้ำดีและตับอ่อนอังคารบ่ายภูมิสิริฯ 10 A
โรคความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงพฤหัสบ่ายภูมิสิริฯ 10 A
ผู้สูงวัยสุขภาพดี 
จันทร์
พุธ
เช้า
เช้า/บ่าย
สธ.4
ฉีดยาลดเกร็งจันทร์บ่ายสธ.12
พาร์กินสันอังคารบ่ายสธ.12
กลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติพุธเช้าสธ.12
พันธุกรรมประสาทวิทยาทางด้านการเคลื่อนไหวพุธเช้าสธ.12
ผ่าตัดผู้ป่วยพาร์กินสันพฤหัส (สัปดาห์ 1,3)
พฤหัส (สัปดาห์ 4)
เช้า
เช้า-บ่าย
สธ.12
ประเมินอาการผู้ป่วยพาร์กินสันพฤหัส (สัปดาห์ 2)เช้าสธ.12
อะโปมอร์ฟีนพฤหัส (สัปดาห์ 2)เช้าสธ.12
เดินดีศุกร์ (สัปดาห์ 1)เช้าสธ.12
พาร์กินสันแจ่มใสศุกร์ (สัปดาห์ 2)เช้าสธ.12
Neurophysiologicalศุกร์ (สัปดาห์ 2,4)บ่ายสธ.12
Home Adaptationศุกร์ (สัปดาห์ 3)เช้าสธ.12

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายอายุรศาสตร์
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 18

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 61803-4

เว็บไซต์หน่วยงาน