เสวนาวิชาการ : ตอบโจทย์สังคมโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เรื่อง “Disease X – ลึกลับ อำพราง โรคติดเชื้อ”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) จัดงานเสวนาวิชาการ : ตอบโจทย์สังคมโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เรื่อง “Disease X – ลึกลับ อำพราง โรคติดเชื้อ” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดใหม่ที่มีฤทธิ์ร้ายแรง เป็นภัยต่อโลกโดยมีการแพร่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน และยังไม่มีการค้นพบยารักษา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถดูแลป้องกันตนเองและครอบครัว รวมทั้งไม่ควรตื่นตระหนก แต่สามารถป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงได้ โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงาน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้กล่าวรายงานและผู้ดำเนินการเสวนา เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 9.30 น. ณ ห้องดุสิตธานี ฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี

ทั้งนี้ มีหัวข้อการเสวนาที่น่าสนใจ อาทิ

  • Diagnostic acute fever of unknown origin ไข้อะไรหว่า ? ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.พญ.กนิษฐา ภัทรกุล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Acute encephalitis ซึมอะไรหว่า ? – Autoimmune / Viral encephalitis ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผศ.(พิเศ)พญ.อภิญญ์เพ็ญ สาระยา วสันติวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาประสาทวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • Rash ผื่นอะไรหว่า ? – Leishmaniasis ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง เชื้อจากแมลง และนวัตกรรมในการควบคุมยุงและแมลง ,แอพพลิเคชัน โรคไข้นำโดยแมลง Thai Fever Risk Map และที่สุดของค้างคาว