โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) กับการผ่าตัด

ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่จะต้องผ่าตัดโดยการดมยาสลบอาจเกิดปัญหาต่างๆได้ ตั้งแต่เริ่มดมยาสลบ ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด เมื่อเริ่มผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาทำให้หลับทางเดินหายใจอาจเกิดการอุดกั้นได้ การใส่ท่อช่วยหายใจทำได้ยากกว่าปกติอาจเกิดอันตรายได้ คืนก่อนผ่าตัดผู้ป่วยอาจนอนไม่หลับส่งผลให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นรุนแรงขึ้นได้

การผ่าตัดที่ส่งผลต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น

การผ่าตัดบริเวณทางเดินหายใจ อก และท้องอาจทำให้ปัญหาการหายใจหลังผ่าตัดแย่ลงได้ ตัวอย่างการผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ ผ่าตัดเพดานอ่อนและช่องคอ ผ่าตัดทอนซิล ผ่าตัดอะดีนอยด์ ผ่าตัดลิ้น ผ่าตัดกล่องเสียง

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

– อ้วน

– เพศชาย

– อายุมากกว่า 65 ปี

– หญิงวัยหมดประจำเดือน

– มีประวัติโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นในครอบครัว

ปัจจัยที่ทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นอาการแย่ลง

– การใช้ยานอนหลับเป็นประจำ

– เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

– การอดนอน

– การนอนหงาย

– ภูมิแพ้และไซนัสอักเสบ

– โรคทางระบบประสาท

ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นหากต้องผ่าตัดโดยการดมยาสลบควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากใช้เครื่องอัดแรงดันบวก (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) อยู่ให้นำมาใช้หลังผ่าตัดด้วย หากสงสัยว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นให้พบแพทย์และตรวจวินิจฉัยก่อน หากเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นให้ทำการรักษาก่อนผ่าตัด เนื่องจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเป็นโรคที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้นได้

บทความโดยคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
(ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)