คณะผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ของเรา

วิสัยทัศน์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับความสามารถทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลของประเทศ

1.1 สร้างศูนย์ความเป็นเลิศ Excellent Center ( EC )

เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์การผลิตองค์ความรู้ในการรักษาพยาบาลที่มีผลกระทบสูง หรือมีประโยชน์อย่างมากต่อวงการแพทย์และสังคม สามารถชี้นำสังคมได้อย่างแท้จริง โดยมีระบบการคัดเลือกการบริหาร และการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ ในด้านต่าง ๆ ได้แก่

1.1.1 ด้านการบริการ (SERVICE) เป็นตติยภูมิที่ให้การรักษาที่ก้าวหน้า ทันสมัย มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด สามารถให้บริการรักษาผู้ป่วยในโรคที่ยากและซับซ้อนรวมถึงมีการบริหารจัดการเครือข่ายทางสาธารณสุขและงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

1.1.2 ด้านวิจัย (RESEARCH) มีงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงต่อวงการวิชาการและสังคม อีกทั้งสามารถเป็นผู้นำเครือข่ายในการวิจัยในด้านที่เชี่ยวชาญ

1.1.3 ด้านการเรียนการสอน (TEACHING) เป็นแหล่งการเรียนการสอนเชิงลึกเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกในสาขาเฉพาะโรคต่างๆ ของศูนย์ความเป็นเลิศ

1.2 ผลิตบุคลากรทางการแพทย์

ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอัตลักษณ์ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และเอื้ออาทร ที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ ด้วยระบบการรองรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : บริการทางการแพทย์และดูแลรักษาพยาบาลเป็นเลิศแก่ประชาชนทุกระดับ

  • เน้นการให้บริการและการสร้างองค์ความรู้ในแบบทุติยภูมิจนถึงสูงกว่าระดับตติยภูมิ โดยให้การรักษาผู้ป่วยโรคยากและซับซ้อน
  • เพิ่มความพึงพอใจ ลดระยะเวลาการรอคอย และกระบวนการที่ไม่จำเป็นในการให้บริการผู้ป่วยนอก โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานบริการ / พัฒนากระบวนการวิเคราะห์ / ขั้นตอนการให้บริการ / ให้การออกตรวจของแพทย์ตรงเวลาและมีปริมาณเพียงพอ / ปรับปรุงพฤติกรรมบริการ / พัฒนาระบบการบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้เหมาะสม
  • สามารถให้การดูแลและการรับผู้ป่วยฉุกเฉินเข้าเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ตามมาตรฐาน และเป้าหมายที่กำหนด โดยมีระบบหอผู้ป่วยสำหรับสังเกตอาการหอผู้ป่วยสำรอง และนโยบาย / อำนาจตัดสินใจที่ชัดเจน
  • เพิ่มอัตราการครองเตียง และลดระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วย
  • พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยประเภทเรื้อรัง และการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
  • พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้สอดคล้องและเหมาะสมกับปริมาณและความต้องการ
  • จัดตั้งคลินิกบริการพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยในระดับกลางขึ้นไป

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เป็นรากฐานการสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 2 โดยเน้นเรื่องของการบริหารทรัพยากรให้ใช้อย่างมีประโยชน์ และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล เพื่อให้องค์กรก้าวบรรลุวิสัยทัศน์อย่างยั่งยืน ในส่วนต่างๆ ดังนี้

  • การบริหารจัดการสถานที่
  • บุคลากร
  • งบประมาณ
  • เครื่องมือแพทย์
  • รวมถึงระบบสนับสนุนอื่นๆ เช่น ระบบสารสนเทศประชาสัมพันธ์ เป็นต้น