ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ ครูแพทย์รางวัลพยาธิแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2560

ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ ครูแพทย์อาวุโสแห่งภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลพยาธิแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2560 รางวัลเชิดชูเกียรติ ที่รับมอบจากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ในการประชุมพยาธิวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 (Pathology Practice in Thailand 4.0)

สืบเนื่องด้วย นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ สร้างสรรค์ผลงานน่ายกย่องมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ท่านเป็นคนไทย คนแรกที่ได้เป็น Diplomate of the American Board of Anatomic Pathology & Neuropathology จากการสอบเพียงครั้งเดียวในระหว่างการฝึกอบรมประสาทพยาธิวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติมากถึง 6 เรื่อง ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Institute of Health (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นแพทย์คนเดียวในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในสมัยนั้นที่ได้รับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พ.ด.) ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ด้วยการเสนอดุษฎีนิพนธ์และการสอบ

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือ นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ เป็นนักวิจัย ผู้ริเริ่มการพัฒนาเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมมิสตรี (Immunohistochemistry หรือ IHC) หรือเทคนิคในการตรวจชิ้นเนื้อทางระบบประสาทเป็นครั้งแรก ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น งานวิจัยเรื่องประสาทพยาธิวิทยา ในประเทศไทย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี ที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติมีการรายงานเคสผู้ป่วยตกเลือดในสมองจากการแพร่กระจายของมะเร็งเยื่อรก (Choriocarcinoma) การตกเลือดในสมองที่เกิดจากเนื้องอกปฐมภูมิของสมอง การแพร่กระจายของเนื้องอกปฐมภูมิออกมานอกกะโหลกศีรษะ เป็นต้น ซึ่งผลงานเหล่านี้ทำให้ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปรับตำแหน่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์เป็นศาตราจารย์เป็นกรณีพิเศษ ในปี พ.ศ.2521 ซึ่งขณะนั้น นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ มีอายุเพียง 43 ปีเท่านั้น

นพ.ดร.สำรวย ช่วงโชติ สร้างสรรค์ผลงานน่ายกย่องมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ท่านเป็นคนไทย คนแรกที่ได้เป็น Diplomate of the American Board of Anatomic Pathology & Neuropathology จากการสอบเพียงครั้งเดียวในระหว่างการฝึกอบรมประสาทพยาธิวิทยาที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติมากถึง 6 เรื่อง