ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ในฐานะรองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากนโยบาย Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0 ที่เป็นความมุ่งมั่นของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อผลักดันและปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศจากอุตสาหกรรมหนัก ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนั้น มหาวิทยาลัยของประเทศจึงถือเป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะต้องปฎิรูปตัวเอง ในการสร้างคนคุณภาพ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ตอบรับกับนโยบายเพื่อนำประเทศก้าวไปข้างหน้าในการก้าวสู่มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นด้านงานวิจัยนั้น

 

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ได้ให้มุมมองและแนวคิดที่น่าสนใจว่า จะต้องทำให้อาชีพนักวิจัยเต็ม หรือ อาจารย์สายวิจัย เวลาสามารถทำงานได้จริงใช้ประโยชน์และต่อยอดได้จริงมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้เปลี่ยนจากการผลิตงานวิจัยที่เน้นปริมาณเป็นงานวิจัยที่เน้นคุณภาพมากขึ้น มี นโยบายเร่งด่วนที่ต้องการผลักดันให้สำเร็จภายใน 6 เดือนหรือปีแรกที่สำคัญ ได้แก่ปรับปรุงวิธีทำงานของสำนักงานบริหารการวิจัยทั้งของส่วนกลางและส่วนคณะต่างๆเป็นการให้บริการอาจารย์และนักวิจัยเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น มีกลไกติดต่อเสนอแนะถึงฝ่ายวิจัยได้ตลอดเวลาผ่านไอทีหลายรูปแบบ การสร้างฐานข้อมูลด้านการวิจัยให้เป็นระบบและทันสมัยการปรับปรุงระบบการให้ทุนในเชิงรุก และการตั้งทีมส่งเสริมและช่วยเหลือการเขียนขอทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งการเพิ่มจำนวนนักวิจัยหลังจบปริญญาเอกจาก 100 เป็น 250 คนเพื่อสร้างนักวิจัยเต็มเวลารุ่นใหม่ให้แก่จุฬาฯ มาขับเคลื่อนผลงานคุณภาพ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม กล่าวย้ำว่า เป้าหมายของนโยบายวิจัยของจุฬาฯ ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ผลงานตีพิมพ์อีกต่อไป แต่ต้องการมุ่งเน้นสนับสนุนงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพอย่างแท้จริงด้วย และเพื่อให้จุฬาฯเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ทำประโยชน์แก่สังคมโลกด้วย เราจึงมีทุนส่งเสริมการวิจัยที่จะทำให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่รวมทั้งการทฤษฎีหรือองค์ความใหม่ๆ ด้วย ทั้งนี้ควบคู่ไปกับการผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ

เป้าหมายของนโยบายวิจัยของจุฬาฯ ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ผลงานตีพิมพ์อีกต่อไป แต่ต้องการมุ่งเน้นสนับสนุนงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศ

ใน 4 ข้างหน้า วิเคราะห์จากศักยภาพของชาวจุฬาและทิศทางของโลก ผู้บริหารได้กำหนดทิศทางวิจัยและนวัตกรรมไว้ 7 ด้านหลัก เพื่อชี้นำให้ชาวจุฬาฯ มุ่งไปด้วยกันเพื่อสังคมและประเทศชาติ คือ Ageing, ASEAN, innovative-inclusive society, Sustainability/security (Food, water, energy), biomedicine, robotic and digital technology, and new frontier และอีกหนึ่งกลยุทธ์เสริมสำคัญที่จะ เชื่อมโยงกับนานาชาติและผลักดันงานวิจัยเชิงคุณภาพ ระดับโลกให้แก่จุฬาฯได้ คือ การจัดประชุม International in Research Forum ด้วยการเชิญนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ระดับโลกและภูมิภาคมาร่วมประชุมระดมสมองแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยและอาจารย์ จุฬาฯ เป็นการสร้างเครือข่าย วิจัยกับนานาชาติที่มีประสิทธิภาพ

 

นอกเหนือจากกลยุทธ์ต่างๆแล้ว ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ได้ฝากแนวทางสำหรับนักวิจัยในทุกสาขา พยายามทำงานเป็นทีม ขยายความร่วมมือข้ามภาควิชาข้ามคณะข้ามมหาวิทยาลัยและข้ามประเทศ เพื่อร่วมกันคิดค้นสิ่งใหม่ สร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือ นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ระดับประเทศและสังคมโลกได้ ย่อมทำให้จุฬาฯ ก้าวไกลในสังคมโลกด้วยนวัตกรรมและงานวิจัยได้อย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งนี้หากต้องการคำแนะนำสนับสนุนหรือมีข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์สามารถติดต่อผู้บริหารและฝ่ายวิจัยได้เสมอ